วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา อำเภอแม่แจ่ม

      อำเภอแม่แจ่ม เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ มี หมู่บ้านอยู่ตามที่ราบและกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาใหญ่น้อยที่ล้อมรอบเรียง รายอยู่ มองจากที่สูงลงมาจะเหมือนแอ่งกระทะ มีลำน้ำไหลผ่าน ท่ามกลางมวลพฤกษชาตินานาพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งนี้เดิมเป็นที่อาศัยของชนชาติลัวะ (ละว้า) ซึ่งครอบครองดินแดนแถบนี้ตลอดจนถึงบางส่วนของอาณาจักรล้านนาในอดีต ชนเผ่าลัวะมีความเจริญไม่แพ้พวกขอม-มอญ ซึ่ง เป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ร่วมกัน เพียงแต่แยกการปกครองออกเป็นหมู่เหล่า เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อพวกใด ชนใดมีความเข้มแข็งก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองขึ้นปกครองกันเอง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และได้สร้างวัฒนธรรมของตนจนรุ่งเรือง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น วัดวาอามราม จิตกรรมฝาผนัง เครื่องปั้นดินเผา อาจ จะเป็นเพราะในอดีตเมืองแจ๋มเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่าง พม่า ไทย จีน และอินเดียก็เป็นได้ เพราะสินค้าของทุกประเทศตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลานซึ่งได้รับจากบรรพบุรุษที่ อยู่ในสมัยนั้นด้วย ต่อมาเมื่อมีกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) เข้ามามากเข้า อำนาจของลัวะจึงหมดไป แต่ลัวะเริ่มเรืองอำนาจขึ้นมาใหม่อีกครั้งในยุคสมัยของพญามังรายซึ่งถือว่าเป็นเชื้อสายลัวะเหมือนกัน  ามหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น คิชฌกูฏ ในวิหารของวัดยางหลวง พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน พระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะตระกูลช่างเชียงแสนและตระกูลช่างสุโขทัยซึ่งมีอายุเกิน 500 ปีขึ้นไป ดังนั้น เมืองแจ๋มก็น่าจะตั้งมาไม่ต่ำว่า 500 ปี ราว ๆ ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1800สิงหนวัติกุมารได้พากลุ่มคนไท-ยวนอพยพมาจากยูนนานทางตอนใต้ของจีน ยึดอำนาจจากลัวะในสมัยปู่จ้าวลาวจก (ลวจัก ราช) บรรพบุรุษของพญามังราย แล้วสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่มีชนพื้นเมืองลัวะอาศัยอยู่ก่อน แต่อาศัยการวางตนเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมสูงกว่าลัวะ ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไทเสื่อมอำนาจลง ปู่จ้าวลาวจกจึงสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์ กลุ่มคนไทจึงกระจัดกระจายกันไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งตามประวัติของเมืองแจ๋มที่กล่าวไว้ว่าเริ่มมีคนไทเข้ามา ก็คงจะในสมัยของสิงหนวัติกุมารนั่นเอง เพราะประวัติของเมืองแจ๋มก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิงห์อยู่เหมือนกัน แล้วถ้าเราลองมานับปีกันแล้ว ปีนี้ พ.ศ. 2545-1800 จะได้ประมาณ 745 ปี ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอายุของหลักฐานที่อยู่ตามวัดต่าง ๆ เช่น คิชฌกูฏ 
    ต่อมามีคนไทยพื้นที่ราบทั้งจากอำเภอจอมทองและอำเภอสันป่าตองเข้ามาหากินและตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำแม่แจ่ม และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2447 ตั้งชื่อว่า อำเภอช่างเคิ่ง (ปัจจุบัน ช่างเคิ่งเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอแม่แจ่ม) ตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลท่าผา มีนายชื่นดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ขณะนั้นราษฎรอดอยากขาดแคลนและไม่นิยมการปกครองที่มีการเก็บภาษีอากร ในที่สุดจึงมีราษฎรกลุ่มหนึ่งเข้าปล้นที่ว่าการอำเภอและทำร้ายนายอำเภอจน เสียชีวิต ทางราชการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอาศัยที่วัดช่างเคิ่งเพื่อความปลอดภัย มีนายสนิทเป็นนายอำเภอจนกระทั่งปี พ.ศ. 2481 ทางราชการได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอ และตั้งชื่อว่า กิ่งอำเภอแม่แจ่ม ขึ้นกับอำเภอจอมทอง และเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอแม่แจ่ม และ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2552 ได้มีการแบ่งพื้นที่ของตำบลแจ่มหลวง ตำบลบ้านจันทร์ และ ตำบลแม่แดด ออกไปจัดตั้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จึงทำให้อำเภอแม่แจ่ม มี 7 ตำบล จนถึงปัจจุบัน

          คำขวัญ อำเภอแม่แจ่ม
                       
                            เที่ยวบ่อน้ำแล่  ร่องแพน้ำแจ่ม พักแรมน้ำตก  ผ้าตีนจกยอดน้ำมือ

                                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แม่แจ่ม
                                             ตัวอย่าง หลักกิโล บอกเส้นทางอำเภอแม่แจ่ม


                       
                                                    ตัวอย่าง การร่องแพ ลำน้ำแจ่ม


          ประวัติดั้งเดิมของ “อำเภอแม่แจ่ม” ไม่ มีผู้ใดทราบชัดเจนและไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันได้ เป็นแต่เรื่อง ตำนานเล่าสืบกันมาว่า  แต่ก่อนมีสิงห์สองตัวเป็นพี่น้องกันหากินอยู่ในป่า ใหญ่เกิดแย่งอำนาจรุกล้ำเขตหากินพิพาทกันอยู่เนืองๆ จนกระทั่งพระปัจเจก พุทธเจ้ามาโปรดเวไนยสัตว์จึงได้แบ่งเขตหากิน โดยเอาลำห้วยแห่งหนึ่งเป็น เครื่องหมายแสดงเขตแดนลำห้วยขึ้น จึงเรียกสืบกันมาว่า “ห้วยช่างเคิ่ง” ซึ่ง หมายความว่า แบ่งครึ่งกันไว้ ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่ดอนสะ กาน ราษฎรนำข้าวปลาอาหารไปถวาย แต่เนื่องจากราษฎรเหล่านี้ยากจนข้าวปลาอาหาร ที่นำไปถวายมีน้อยเพราะขาดแคลน จึงได้ขนานนามเมืองนี้ว่า “เมืองแจม” (แจ มแปลว่า อดอยาก ขาดแคลน) และเรียกลำน้ำใหญ่นี้ว่า    “แม่แจ่ม” ต่อมาชาว บ้านเรียกเพี้ยนไปเป็น “เมืองแจ่ม” จนกระทั่งทุกวันนี้  แม่แจ่ม หลาย คนที่ที่ชอบอากาศบริสุทธิ์และความเป็นธรรมชาติวิถีชีวิตเรียบง่ายของผู้คน แนะนำให้ลองมาเที่ยว อยู่กับชาวบ้าน ที่อำเภอแม่แจ่ม สักครั้งแล้ว จะรู้ว่า แท้จริงในความเรียบง่าย ของผู้คนยังมีความงดงามแฝงเอาไว้และ นอกจากความเรียบง่าย ของคนเมืองแม่แจ่มแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ แห่งความงดงามอีกอย่างหนึ่ง คือ ท้องทุ่งนาขั้นบันได อัน เขียวขจีในฤดูฝน หากใครที่ยังไม่เคยเดินทางมาแม่แจ่มก็ควรจะหาเวลาดินทางเข้ามาศึกษา วัฒนธรรมประเพณีและการดำเนินชีวิตของชาวแม่แจ่ม ให้ได้สักครั้ง อำเภอแม่แจ่มหรือ "เมืองแจ๋ม" นั้นแต่เดิมเรียกกันว่า "เมืองแจม" มีเรื่องเล่าครั้งโบราณกาลว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหากัจจายนะได้จาริกผ่านมาทางยอดดอยอ่างกา (ดอยอินทนนท์) เช้าวันหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ มีย่าลัวะเฒ่า (หญิงชราชาวลัวะ) คนหนึ่งนำปลาปิ้งเพียงครึ่งตัวมาใส่บาตรถวาย พระบรมศาสดาทอดพระเนตรด้วยความเมตตาและความสงสัย จึงตรัสถามย่าลัวะว่า "แล้วปลาอีกครึ่งตัวล่ะอยู่ไหน" ย่าลัวะทูลตอบว่า "เก็บไว้ให้หลาน" พระองค์จึงทรงรำพึงว่า "บ้านนี้เมืองนี้มันแจมแต๊นอ" (= เมืองนี้ช่างอดอยากจริงหนอ) ซึ่งต่อมาดินแดนนี้จึงได้ชื่อว่า "เมืองแจม" คำว่า "แจม" เป็นภาษาลัวะแปลว่า มีน้อย ไม่พอเพียง หรือขาดแคลน ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) มาอยู่ จึงเรียกชื่อตามสำเนียงไท-ยวนว่า "เมืองแจ๋ม" และเพี้ยนเป็นเมืองแจ่มหรือ "แม่แจ่ม" อันเป็นนามมงคล หมายถึงให้เมืองนี้เป็นเมืองแห่งความแจ่มใส ลบความหมายของคำว่า "แจม"
         อำเภอแม่แจ่มได้ยกฐานะเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2477  ตั้งชื่ออำเภอว่า “”อำเภอช่างเคิ่ง” ที ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านหมู่ที่ 4 ต.ท่าผา ในปัจจุบันนี้  โดยมี นาย ชื่น  ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอคนแรก แต่ขณะนั้นราษฎรอดอยากขาดแคลน และไม่ นิยมการปกครอง ที่เก็บภาษีอากร จึงได้มีราษฎรกลุ่มหนึ่งเข้าปล้นที่ว่าการ อำเภอ นายอำเภอถูกฆ่าตาย  ทางราชการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ ไปอาศัยอยู่ ที่วัดช่างเคิ่ง โดยมีท้าวสุดสนิท เป็นนายอำเภอ และมีฐานะเป็นอำเภอ ต่อมาจน ถึง พ.ศ. 2481  ทางราชการได้ลดฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ตั้งชื่อว่า “กิ่งอำเภอแม่ แจ่ม”  ขึ้นกับอำเภอจอมทอง และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภออีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2499 

                    
                          
                                     ตัวอย่าง บรรยากาศแบบธรรมชาติ ในอำเภอแม่แจ่ม
         

วัดป่าแดด

       วัดป่าแดด ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2370 ที่ตั้ง เลขที่ 99 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อเดิม วัดใหม่ วัดใหม่เมืองแจ่ม ที่มาชื่อวัดใหม่อาจจะได้มาจากเป็นวัดประจำหมู่บ้าน บ้านใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 300 เมตร หรือเป็นวัดที่สร้างขึ้นใช้แทนวัดเก่า คือวัดทะ หรือวัดทะกอ ซึ่งคู่กับวัดยางหลวง วัดทะอยู่ห่างจากวัดป่าแดดปัจจุบันไปทางไปทางทิศตันออกประมาณ /จจ เมตร เพราะถูกแม่น้ำแรกเซาะตลิ่งพังทลาย จึงต้องย้ายมาตั้งที่ปัจจุบัน ส่วนชื่อวัดป่าแดดเป็นชื่อเรียกกันภายหลัง ที่ตั้งวัดเดิมเป็นทุ่งนา ทุ่งป่าแง พระยาเขื่อนแก้วเจ้าปกครองเมืองแจ่มในสมัยนั้นได้ซื้อกับเจ้าของนา แล้วไปนิมนต์พระภิกษุ วัดอุโบสถ อำเภอสันป่าตอง มาเป็นประธานสงฆ์ ในการสร้างวัด พระภุกษุสงฆ์ที่พระยาเขื่อนแก้วนิมนต์มา เป็นประธานสงฆ์นั้นชื่อ ครูบากุณา ครูบากุณาได้ไปนิมนต์พระสงฆ์ที่วัดกิ่วแล จำนวน 3 รูป มาเป็นช่างออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง พระวิหาร ฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2428 และเขียนรูปจิตกรรมฝาผนังปี พ.ศ. 2530 ครูบากุณาได้อยู่ปกครองวัดป่าแดด ตั้งแต่แรกสร้าง เมื่อท่านครูบากุณาได้มรณะไปแล้วศิษย์ของท่านที่ชื่อ พระฟั่น เตชวโร หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปจากหมู่เหล่าลูกศิษย์ ครูบาเตชะ ต่อมาปี พ.ศ. 2434 จึงได้รับหน้าที่ปกครองเป็นเจ้าอาวาสปกครองสืบมา และได้เป็นพระอุปชฌาย์ เป็นรองเจ้าคณะแข วงช่างเคิ่ง และท่านได้ดำรงค์ตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2479 จึงมรณะภาพ เมื่อครูบาเตชะมรณะภาพไปแล้วศิษย์ของท่าคือ พระคำปัณ อินทนุโท เป็นเจ้าอาวาสต่อมา ก็มีผู้สืบทอดต่อๆ กันไป  
       และอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยวัดป่าแดด เป็นวัดขนาดเล็ก สร้างในปี พ.ศ.2420 มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหาร ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ วาดโดยช่างแต้มชาวไทยใหญ่ เป็นเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ  ภาย ในวิหารมีภาพจิตรกรรมที่ค่อนข้างสมบูรณ์เป็นเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ ฝีมือช่างชาวไทยใหญ่เห็นได้จากภาพวิทูรบัณฑิตอยู่ในซุ้มปราสาทแต่งกายอย่าง ชนชั้นสูงชายไทยใหญ่ ส่วนหญิงสาวในภาพส่วนใหญ่จะนุ่งซิ่นตีนจกทั้งสิ้น การเดินทาง ตำบล ท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ถ้าลงมาจากดอยอินทนนท์วิ่งไปทาง อ.แม่แจ่มจะมีทางแยกซ้ายมือไป อ.ฮอด เลี้ยวซ้ายวิ่งไปสัก 500 ม. จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดป่าแดด

                           
                                                              ตัวอย่าง ป้ายหน้าวัดป่าแดด

           จิตกรรมฝาผนังที่นี่เขียนเรื่องราวพุทธประวัติ ชาดก รวมถึงภาพแสดงวิถีชาวชีวิตชาวแม่แจ่มเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ที่ดูแล้วคลาสสิคมาก แถมหลายๆภาพยังมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เห็นได้จากภาพวิทูรบัณฑิตอยู่ในซุ้มปราสาทแต่งกายอย่าง ชนชั้นสูงชายไทยใหญ่ ส่วนหญิงสาวในภาพส่วนใหญ่จะนุ่งซิ่นตีนจกทั้งสิ้น
                                  imagesบน 
                                                      ตัวอย่าง จิตกรรมฝาผนังที่วัดป่าแดด

         นอกจากนี้ที่วัดป่าแดด ยังมีงานสถาปัตยกรรมของตัวอาคารที่น่าสนใจอีกได้แก่ วิหารทรงล้านนาฝีมือช่างพื้นบ้านอันทรงเสน่ห์สมส่วน หอไตรเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และพระอุโบสถหลังใหม่สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2543 ที่โดดเด่นด้วยลักษณะของโบสถ์กลางน้ำ ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังอันสวยงาม
                             
                                                      ตัวอย่าง โบสถ์กลางน้ำ วัดป่าแดด

             หอธรรมวัดป่าแดดแม่แจ่ม ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาส วัดป่าแดด ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สร้างราวปี พ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ประวัติเป็นสถานที่รวบรวมเก็บพระไตรปิฎก หนังสือพระธรรมคัมภีร์ใบลานทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ปัจจุบันพระธรรมคัมภีร์ต่างๆได้รับการเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้บนกุฎิเจ้าอาวาส แล้ว ซึ่งต่อมาทางราชการเสนอให้หอธรรมแห่งนี้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน จากกรมศิลปากร

                                             ตัวอย่าง หอธรรม วัดป่าแดด