วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

วัดป่าแดด

       วัดป่าแดด ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2370 ที่ตั้ง เลขที่ 99 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อเดิม วัดใหม่ วัดใหม่เมืองแจ่ม ที่มาชื่อวัดใหม่อาจจะได้มาจากเป็นวัดประจำหมู่บ้าน บ้านใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 300 เมตร หรือเป็นวัดที่สร้างขึ้นใช้แทนวัดเก่า คือวัดทะ หรือวัดทะกอ ซึ่งคู่กับวัดยางหลวง วัดทะอยู่ห่างจากวัดป่าแดดปัจจุบันไปทางไปทางทิศตันออกประมาณ /จจ เมตร เพราะถูกแม่น้ำแรกเซาะตลิ่งพังทลาย จึงต้องย้ายมาตั้งที่ปัจจุบัน ส่วนชื่อวัดป่าแดดเป็นชื่อเรียกกันภายหลัง ที่ตั้งวัดเดิมเป็นทุ่งนา ทุ่งป่าแง พระยาเขื่อนแก้วเจ้าปกครองเมืองแจ่มในสมัยนั้นได้ซื้อกับเจ้าของนา แล้วไปนิมนต์พระภิกษุ วัดอุโบสถ อำเภอสันป่าตอง มาเป็นประธานสงฆ์ ในการสร้างวัด พระภุกษุสงฆ์ที่พระยาเขื่อนแก้วนิมนต์มา เป็นประธานสงฆ์นั้นชื่อ ครูบากุณา ครูบากุณาได้ไปนิมนต์พระสงฆ์ที่วัดกิ่วแล จำนวน 3 รูป มาเป็นช่างออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง พระวิหาร ฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2428 และเขียนรูปจิตกรรมฝาผนังปี พ.ศ. 2530 ครูบากุณาได้อยู่ปกครองวัดป่าแดด ตั้งแต่แรกสร้าง เมื่อท่านครูบากุณาได้มรณะไปแล้วศิษย์ของท่านที่ชื่อ พระฟั่น เตชวโร หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปจากหมู่เหล่าลูกศิษย์ ครูบาเตชะ ต่อมาปี พ.ศ. 2434 จึงได้รับหน้าที่ปกครองเป็นเจ้าอาวาสปกครองสืบมา และได้เป็นพระอุปชฌาย์ เป็นรองเจ้าคณะแข วงช่างเคิ่ง และท่านได้ดำรงค์ตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2479 จึงมรณะภาพ เมื่อครูบาเตชะมรณะภาพไปแล้วศิษย์ของท่าคือ พระคำปัณ อินทนุโท เป็นเจ้าอาวาสต่อมา ก็มีผู้สืบทอดต่อๆ กันไป  
       และอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยวัดป่าแดด เป็นวัดขนาดเล็ก สร้างในปี พ.ศ.2420 มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหาร ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ วาดโดยช่างแต้มชาวไทยใหญ่ เป็นเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ  ภาย ในวิหารมีภาพจิตรกรรมที่ค่อนข้างสมบูรณ์เป็นเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ ฝีมือช่างชาวไทยใหญ่เห็นได้จากภาพวิทูรบัณฑิตอยู่ในซุ้มปราสาทแต่งกายอย่าง ชนชั้นสูงชายไทยใหญ่ ส่วนหญิงสาวในภาพส่วนใหญ่จะนุ่งซิ่นตีนจกทั้งสิ้น การเดินทาง ตำบล ท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ถ้าลงมาจากดอยอินทนนท์วิ่งไปทาง อ.แม่แจ่มจะมีทางแยกซ้ายมือไป อ.ฮอด เลี้ยวซ้ายวิ่งไปสัก 500 ม. จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดป่าแดด

                           
                                                              ตัวอย่าง ป้ายหน้าวัดป่าแดด

           จิตกรรมฝาผนังที่นี่เขียนเรื่องราวพุทธประวัติ ชาดก รวมถึงภาพแสดงวิถีชาวชีวิตชาวแม่แจ่มเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ที่ดูแล้วคลาสสิคมาก แถมหลายๆภาพยังมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เห็นได้จากภาพวิทูรบัณฑิตอยู่ในซุ้มปราสาทแต่งกายอย่าง ชนชั้นสูงชายไทยใหญ่ ส่วนหญิงสาวในภาพส่วนใหญ่จะนุ่งซิ่นตีนจกทั้งสิ้น
                                  imagesบน 
                                                      ตัวอย่าง จิตกรรมฝาผนังที่วัดป่าแดด

         นอกจากนี้ที่วัดป่าแดด ยังมีงานสถาปัตยกรรมของตัวอาคารที่น่าสนใจอีกได้แก่ วิหารทรงล้านนาฝีมือช่างพื้นบ้านอันทรงเสน่ห์สมส่วน หอไตรเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และพระอุโบสถหลังใหม่สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2543 ที่โดดเด่นด้วยลักษณะของโบสถ์กลางน้ำ ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังอันสวยงาม
                             
                                                      ตัวอย่าง โบสถ์กลางน้ำ วัดป่าแดด

             หอธรรมวัดป่าแดดแม่แจ่ม ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาส วัดป่าแดด ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สร้างราวปี พ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ประวัติเป็นสถานที่รวบรวมเก็บพระไตรปิฎก หนังสือพระธรรมคัมภีร์ใบลานทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ปัจจุบันพระธรรมคัมภีร์ต่างๆได้รับการเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้บนกุฎิเจ้าอาวาส แล้ว ซึ่งต่อมาทางราชการเสนอให้หอธรรมแห่งนี้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน จากกรมศิลปากร

                                             ตัวอย่าง หอธรรม วัดป่าแดด                     

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น